สาขาวิชาของความเข้าใจ ของ ความฉลาดทางการเงิน (ธุรกิจ)

ความเข้าใจทั้งสี่ด้าน[3] ที่ประกอบกันเป็นอัจฉริยะทางการเงิน คือ:

เข้าใจรากฐาน ความฉลาดทางการเงินต้องมีความเข้าใจพื้นฐานของการวัดทางการเงินรวมถึงงบกำไรขาดทุน, งบดุล และงบกระแสเงินสด นอกจากนี้ยังต้องทราบความแตกต่างระหว่างเงินสด และกำไร ตลอดจนทำไมงบดุลจึงทำให้เท่ากัน

เข้าใจศิลปะ การเงินและการบัญชีเป็นศิลปะเช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์ ทั้งสองสาขาวิชาต้องพยายามหาปริมาณสิ่งที่ไม่สามารถหาปริมาณได้เสมอ ดังนั้นจึงต้องอาศัยกฎการประมาณและข้อสมมติฐาน ความฉลาดทางการเงินสร้างความมั่นใจให้ผู้คนสามารถแยกแยะได้ว่ามีการนำศิลปะด้านการเงินมาใช้กับตัวเลขใดบ้าง รวมถึงรู้วิธีการปรับใช้ต่างกันอย่างไรโดยอาจนำไปสู่ข้อสรุปที่แตกต่างกัน

เข้าใจการวิเคราะห์ ข้อมูลทางการเงินรวมถึงความสามารถในการวิเคราะห์ตัวเลขในเชิงลึก ซึ่งรวมถึงความสามารถในการคำนวณผลกำไร, พลังทวี, สภาพคล่อง และความสามารถในการดำเนินงาน ตลอดจนทำความเข้าใจความหมายของผลลัพธ์ การดำเนินการวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุนและการตีความผลลัพธ์เป็นส่วนหนึ่งของความฉลาดทางการเงิน

เข้าใจภาพรวมขนาดใหญ่ ความฉลาดทางการเงินยังหมายถึงความสามารถในการเข้าใจผลลัพธ์ทางการเงินของธุรกิจในบริบท - นั่นคือภายในกรอบของภาพรวม ปัจจัยต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ, สภาพแวดล้อมการแข่งขัน, กฎระเบียบ และการเปลี่ยนแปลงความต้องการตลอดจนความคาดหวังของลูกค้า รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ล้วนมีผลต่อการตีความตัวเลข

ความฉลาดทางการเงินไม่ได้เป็นเพียงการเรียนรู้ทางทฤษฎีเท่านั้น นอกจากนี้ยังต้องมีการฝึกฝนและใช้ให้เป็นประโยชน์ในโลกแห่งความจริง ในโลกบรรษัท ผู้จัดการสามารถแสดงข้อมูลทางการเงินโดยการพูดภาษา นั่นคือ การถามคำถามเกี่ยวกับตัวเลขเมื่อบางสิ่งไม่สมเหตุสมผล, ตรวจสอบรายงานทางการเงินรวมทั้งการใช้ข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของบริษัท, การใช้การวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุน, การจัดการเงินทุนหมุนเวียน และการวิเคราะห์อัตราส่วนเพื่อการตัดสินใจ ตลอดจนระบุตำแหน่งที่นำศิลปะทางการเงินมาใช้ประโยชน์ได้

ใกล้เคียง